นิยามและมิติ 4 ของ การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา)

ที่ตั้งการควบคุม (Locus of control)

บทสร้างคือ ที่ตั้งการควบคุม (locus of control) บ่งแนวโน้มที่บุคคลจะอธิบายเหตุการณ์ในชีวิตว่าเกิดขึ้นเพราะตนหรือเพราะปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ตนควบคุมมีที่ตั้ง 2 ที่ในเรื่องนี้ คือ ภายในและภายนอกผู้มีที่ตั้งภายในเชื่อว่าตนสามารถควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบกับผู้มีที่ตั้งภายนอกผู้เชื่อว่าปัจจัยข้างนอกควบคุมชีวิตของตน[2]ผู้มีที่ตั้งภายในมีโอกาสพอใจในงานและชีวิตของตนสูงกว่าเพราะเชื่อว่า ตัวเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้[3]

ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (Neuroticism)

ความไม่เสถียรทางอารมณ์ หรือ Neuroticism ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง นิยามว่าเป็นแนวโน้มคงยืนที่จะมีอารมณ์ไม่ดี (เช่น ความโกรธ ความวิตกกังวล และความซึมเศร้า) ได้ง่าย ๆผู้มี neuroticism สูงมีปฏิกิริยาต่อความเครียดในเชิงลบสูงกว่า เสี่ยงต่อความวิตกกังวล และความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้[4]neuroticism (ความไม่เสถียรทางอารมณ์) เป็นส่วนของ CSE โดยกำหนดเป็นแนวคิดด้านตรงข้ามคือเป็นความเสถียรทางอารมณ์ (emotional stability)[3]และจริง ๆ แล้ว เนื่องจาก neuroticism และ emotional stability เป็นขั้ว 2 ขั้วของลักษณะเดียวกัน ดังนั้น วรรณกรรมวิชาการจึงใช้คำอย่างสับเปลี่ยนกันได้[5]

ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป

ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป (generalized self-efficacy) ที่สืบมาจากนิยามของคำว่า ความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy)[6]นิยามว่าเป็นการประเมินสมรรถภาพของตนในการรับมือและการทำได้ดีในสถานการณ์ต่าง ๆ[1]แม้ว่าบุคคลอาจจะมั่นใจในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกัน แต่ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป เป็นค่าประเมินทั่วไปของสมรรภภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถมองได้ว่าเป็นลักษณะที่เสถียร[1]บุคคลที่มีคะแนนส่วนนี้สูงมีโอกาสทำงานใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของตนสูงกว่า และอดทนอุตสาหะมากกว่า คนที่มั่นใจแบบทั่วไปน้อยกว่า

ความภูมิใจในตน

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: ความภูมิใจในตน

ความภูมิใจในตน (self-esteem) สะท้อนการประเมินคุณค่าของตนโดยทั่วไป[7]และจริง ๆ อาจเป็นหลักของ CSE ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นค่าทั่วไปที่ให้กับตนโดยความเป็นบุคคล[3]